1 สมการชีวิต

Advertise on podcast: 1 สมการชีวิต

Rating
5
from
2 reviews
Categories
This podcast has
256 episodes
Language
Date created
2019/08/01
Average duration
57 min.
Release period
7 days

Description

นำ "โจทย์" จากชีวิตจริงมาวิเคราะห์แจกแจง, เปิดประเด็นปัญหา ขุดคุ้ยคำตอบที่ซ่อนอยู่ แล้วปรับสมดุลย์ด้วยสัจจะธรรม เพื่อให้เห็นเส้นทางดำเนินต่อไปในชีวิต ในช่วง "สมการชีวิต". New Episode ทุกวันจันทร์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

Podcast episodes

Check latest episodes from 1 สมการชีวิต podcast


ความสมดุลระหว่างทางโลกกับทางธรรม [6709-1u]
2024/02/25
เรื่องของนางกาณา ในสมัยพุทธกาล เป็นสตรีที่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก แต่ไปแต่งงานไม่ทันเพราะใส่บาตรพระ ทำให้เจ้าบ่าวไปแต่งงานกับผู้หญิงอื่นแทนเพื่อให้ทันฤกษ์ยาม นางกาณาเสียใจมาก ตั้งแต่นั้นมา นางกาณาก็ด่าว่าติเตียนภิกษุ แต่ก็ยังมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอยู่ พระพุทธเจ้าจึงเสด็จมาโปรด ปรับจิตใจนางกาณาและแม่ให้ยังมีศรัทธาอยู่ ให้เข้าใจสถานการณ์ อย่าหาบาปเพิ่มให้ตนเอง ให้ดำเนินชีวิตตามทางอริยมรรคมีองค์ 8 นางกาณาและแม่ได้ฟังแล้วก็บรรลุพระโสดาบัน ได้ทรัพย์อันยิ่งใหญ่มากกว่าการได้แต่งงาน  ถ้าเราเจอผัสสะที่น่าพอใจหรือไม่น่าพอใจก็ตาม และเราพยายามรักษาตามมรรค 8 ไว้ได้ กิเลสก็จะอยู่ไม่ได้ เพราะเราตั้งใจจะทำความดี รักษาจิตใจให้ดีเหมือนเดิม ในขณะที่โลกบีบคั้น ปัญญาก็จะเกิดขึ้นว่า โลกมันเป็นอย่างนี้ มีเกิดและดับ มีลาภ มีเสื่อมลาภ มีสุข มีทุกข์ ปัญญาจะเกิดขึ้นทันที ความสมดุลระหว่างทางโลกกับทางธรรม ธรรมะมีหลายระดับ เช่น ระดับนักบวช ระดับผู้ครองเรือน การครองเรือนไม่ว่ารูปแบบใดก็ตาม ถ้าอยู่ด้วยความยินดีในกามก็จะได้รับการเบียดเบียนจากกาม ถ้าในการดำเนินชีวิตของเราไม่ได้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่ได้มีธรรมะสอดแทรกเอาไว้ แล้วต้องเผชิญกับกาม จิตใจก็จะมีความวุ่นวาย มีความทุกข์ระทม ความเข้าใจที่ถูกต้องคือ สุขทุกข์ถ้ามีเหตุให้เกิดมันก็เกิด สุขทุกข์เป็นธรรมดา มีเกิดมีดับ เป็นของไม่เที่ยง ไม่ใช่ว่าจะได้แต่สุข ไม่เอาทุกข์ ถ้าจิตใจเราแปรปรวนด้วยผัสสะที่มากระทบให้มีสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ความสงบตั้งไม่ได้ ก็จะไปตามกระแส มองไม่เห็นทาง  ศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา เป็นฆราวาสธรรม ต้องรักษาไว้ เป็นธรรมใ
more
วิธีรับมือกับคนเจ้าอารมณ์ [6708-1u]
2024/02/18
Q1: วันมาฆบูชา พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติตนอย่างไร A: วันมาฆบูชา เป็นวันแห่งความรักของพระพุทธศาสนา เป็นความรักที่เป็นไปด้วยความเมตตาชนิดที่ไม่มีเงื่อนไข คือ ความรักที่บริสุทธิ์ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1. ไม่มีเงื่อนไข 2. ไม่มีประมาณ ไม่กลัวหมด 3. ไม่เว้นใครไว้ หากเรารักคนอื่นด้วย 3 องค์ประกอบนี้ ไม่มองเห็นใครเป็นศัตรู มองทุกคนด้วยจิตใจที่เป็นมิตร ด้วยจิตใจที่มีความรักความเมตตาแบบนี้ เป็นสิ่งที่ควรเอามาปฏิบัติ ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ ก็จะทำให้มีจิตใจแบบพรหม อยู่เป็นสุขได้ Q2: วิธีรับมือกับคนเจ้าอารมณ์ A: การเงียบ ไม่ต่อคำด้วย อาจจะไม่จบเดี๋ยวนั้น แต่ในอนาคตก็จะจบ ค่อย ๆ ใช้เวลาระงับลง การพูดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ก็ไม่พูด ให้พูดสิ่งที่เป็นประโยชน์ ในเวลาที่เหมาะสม และให้แผ่เมตตาให้บุคคลนั้นผ่านไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย เขาจะรับกระแสความรักความเมตตาจากเรา อารมณ์ร้อน โทสะของเขาก็จะเบาบางลง วิธีแผ่เมตตา 1. ทำจิตให้เป็นสมาธิ-ตั้งสติขึ้นโดยใช้พุทโธหรือกำหนดลมหายใจ พอเกิดสติแล้ว จิตจะค่อยระงับลง เป็นสมาธิ สมาธิที่เกิดขึ้นจะเป็นกำลังในการส่งกระแสความเมตตาออกไป 2. ตั้งจิตไว้ด้วยกับเมตตา-นึกถึงความรักของมารดาที่มีเมตตาต่อลูกชนิดที่ไม่มีประมาณ 3. ส่งกระแสความเมตตาออกไปให้บุคคลนั้นผ่านไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย-โดยเอาบุคคลนั้นตั้งเป็นอารมณ์ ความขัดข้องในใจของเราก็จะลดลงหรือหมดไปด้วยความเมตตา 4. แผ่เมตตาซ้ำไปเรื่อย ๆ จิตใจเราก็จะไม่มีความขัดเคืองใจ ไม่มีความอิจฉาริษยา จะมีแต่ความเมตตากรุณาให้ไป Q3: ธรรมะสำหรับคนที่มีอาการนอนไม่หลับ A: แบบที่ 1 เป็นโรคนอนไม่หลับ (Insomnia) แบบที่ 2 เป็นคนที่มีจิตเป็นสมาธิตื่
more
โรค Phobia กับการละอาสวะ [6707-1u]
2024/02/11
กระบวนการเกิดของพฤติกรรม เกิดจากจิตใจ โดยจิตของคนเราจะเป็นไปตามอารมณ์ เปรียบเหมือนกับลิง โหนตัวไปมา จับกิ่งไม้นี้ โหนตัวไปจับกิ่งไม้อื่น แล้วปล่อยกิ่งไม้เดิม ทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จิตของของเราก็เหมือนกันเคลื่อนไปตามอารมณ์นี้ นั้น โน้น ซึ่งอารมณ์ก็เกิดมาจากตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อจิตไปเสวยอารมณ์ก็จะเกิดสิ่งที่อาสวะผลิตขึ้นมา คือ กิเลส ราคะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นเมื่อไม่มีสติ หลงเพลินไป อาสวะเป็นของไหลออกเนื่องจากพฤติกรรมของจิตที่ไปเสวยอารมณ์นั้น ๆ เมื่อจิตไปเสวยอารมณ์ อาสวะที่ผลิตออกมาก็จะถูกสะสมไว้ที่จิต (reinforce) คือ การตอกย้ำลงไป พฤติกรรมนั้นก็จะทำง่ายขึ้นในครั้งต่อไป เมื่อจิตเราไปเสวยอารมณ์อย่างนั้นอีก อาสวะเมื่อเราไม่มีสติ หลงเพลินไป ก็จะถูกผลิตขึ้นมาอีก ก็จะเป็นการตอกย้ำอีกว่า การกระทำพฤติกรรมแบบนี้มันก็จะง่ายขึ้น เช่น คนที่ชอบกินผัดกะเพราแล้วมันอร่อย ก็กินผัดกะเพราในครั้งต่อไปก็ยิ่งจะง่าย หรือ คนที่กลัวงู ก็เพราะมีอาสวะสะสมในจิตให้เกิดอารมณ์กลัวจากการได้เห็นงูมาก่อน เมื่อมีผัสสะมากระทบ พฤติกรรมจะออกมาทันทีว่ากลัวงู พอพัฒนามากขึ้นก็จะกลายเป็นโรค Phobia สำหรับคนที่เป็นโรค Phobia หรือโรคซึมเศร้า ทำให้มีปัญหาในการดำเนินการชีวิต พระพุทธเจ้าสอนว่า “หากเรากลัวสิ่งใด เราจะละความกลัวได้ ก็ต้องละในสิ่งนั้น เราทุกข์ตรงไหน เราจะละทุกข์ได้ เราต้องละทุกข์ตรงนั้น มันติดตรงไหน จะแก้ จะตัดได้ ก็ต้องแก้ที่ตรงนั้น เป็นแผลตรงไหน จะให้หายได้ ต้องใส่ยาลงไปที่ตรงนั้น” เมื่อเรากลัวสิ่งไหน ให้เข้าไปหาสิ่งนั้นด้วยสติปัญญา เมื่อมีความกลัวเกิดขึ้น ให้เข้าใจด้วยปัญญาว่าจริง ๆ แล้ว มันไม่ได้น่ากล
more
วิธีตัดเวรตัดกรรมจากเจ้ากรรมนายเวร [6706-1u]
2024/02/04
Q1: อโหสิกรรมแล้ว คนนั้นจะไม่ต้องรับผลกรรม ใช่หรือไม่ A: การกระทำทุกอย่างทั้งทางกาย วาจา ใจ ต้องได้รับผลแห่งกรรมนั้น ผล คือ วิบาก ความเชื่อที่ว่า “ถ้าเราทำกรรมอย่างไร ก็จะได้รับกรรมอย่างนั้น” เป็นความเชื่อที่ผิด เป็นมิจฉาทิฎฐิ แต่ “ทำกรรมอย่างไร ก็จะได้รับผลของกรรมอย่างนั้น” เป็นความเชื่อที่ถูก “ผลของกรรม” กับ “กรรม” เป็นคนละอย่างกัน “อโหสิ” คือ การกระทำของเรา แม้เราให้อภัยเขา เขาก็ยังต้องได้รับผลของกรรมของเขาอยู่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเราจะให้อภัยเขาหรือไม่ เพราะแต่ละบุคคลมีกรรมเป็นของตน แต่การให้อภัยจะเป็นประโยชน์กับตัวเรา หากเราไม่พอใจเขา ผูกเวร ก็จะเป็นบาป เป็นอกุศลกรรมของเรา การให้อภัยจะเป็นตัวตัดไม่ให้ความชั่ว หรืออกุศลกรรมเกิดขึ้นกับเรา ตัวเราก็จะได้รับผลของกรรมดีจากการให้อภัยนั้น ตัวอย่าง การผูกเวรของพระเทวทัตที่มีต่อพระพุทธเจ้า - วิธีการที่จะขอตัดเวรตัดกรรม คือ การปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งเป็นปฏิปทาให้ถึงความสิ้นกรรม ให้เราทำความดี รักษาศีล เจริญสมาธิ เจริญปัญญา - พระอาจารย์แนะนำให้เรา “ทำความดีต่อไป ความชั่วไม่ทำเลยดีกว่า ให้อภัยทุกคน ไม่คิดร้ายกับใคร เขาจะดีหรือร้ายอย่างไร เราก็จะทำความดีอย่างเดียว เพื่อให้ถึงนิพพาน จะเป็นที่พ้นทุกข์ให้ถึงความสิ้นกรรมได้” Q2: ทำบุญให้กับบุคคลที่เสียชีวิตโดยไม่เจตนาของเราและเป็นคนต่างศาสนา จะได้รับบุญที่ทำให้หรือไม่ A: บุญจากการใส่บาตร ทำสังฆทาน เกิดขึ้นที่เราแล้ว เราส่งกระแสจิตไปถึงบุคคลนั้น ให้เขาอนุโมทนา ส่วนเขาจะมาอนุโมทนาหรือไม่ เป็นเรื่องจิตของเขา ในที่นี้ให้เราตั้งหน้าตั้งตาทำความดีต่อไปไม่ว่ารูปแบบใด เพื่อกำจัดค
more
Mindset ที่ทำให้ชีวิตมีความสุข [6705-1u]
2024/01/28
ช่วงไต่ตามทาง: ประสบความทุกข์ต่อเนื่อง ช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ประสบความทุกข์มาก ทั้งเรื่องเงินทอง คนในครอบครัวเสียชีวิตหลายคน โควิด หน้าที่การงาน สุขภาพร่างกาย เจอบททดสอบหลายอย่าง เครียดมาก บางครั้งไม่รู้จะทำอะไรก่อนดี ถ้าไม่มีธรรมะ ก็อาจจะเป็นโรคซึมเศร้าได้ แต่ผู้ฟังท่านนี้ มีสติ คอยดึงไว้ ไม่ทำอะไรที่ผิดศีล หรือเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ปรุงแต่งให้จิตใจหดหู่ลงไป นึกถึงธรรมะความไม่เที่ยง มีสติสัมปชัญญะอดกลั้นเวทนาไว้ รักษาจิตให้มีความสงบ หาความสุขในปัจจุบัน เร่งทำความดี ฟังธรรม มีกัลยาณมิตร เดินตามทางมรรค ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: Mindset ที่ทำให้ชีวิตมีความสุข กฎเกณฑ์ที่เราตั้งในชีวิต ทำให้เราทุกข์โดยไม่จำเป็น ก็ควรจะเปลี่ยนกฎเกณฑ์ใหม่ กฎเกณฑ์ความสุขของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ถูกหล่อหลอมมาไม่เหมือนกัน เจอผัสสะมาไม่เหมือนกัน มีความเปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา สิ่งมีชีวิตทุกอย่าง “รักสุข เกลียดทุกข์” ถูกผลักดันด้วยเวทนา หากเราตั้งกฎเกณฑ์ว่าทุกอย่างจะต้องราบรื่น ไม่มีปัญหาอะไร เราถึงจะมีความสุขนั้น รอไปเถอะ เราจะทุกข์โดยไม่จำเป็น ทิฏฐิ (Mindset) เกิดจากผัสสะ หล่อหลอมตกตะกอนจนทำให้เป็นกฎเกณฑ์ในชีวิต ในโลกปัจจุบันมีทิฏฐิว่า “ต้องมีเงิน ถึงจะมีความสุข” ทำให้เกิดความเพียรในการหาเงิน ความเพียรเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าความเพียรนั้นทำให้ผิดศีล อย่างนี้ไม่ดี พระพุทธเจ้ามีกฎเกณฑ์ที่ทำให้ทุกข์ลดลง มีสุขเพิ่มขึ้น คือ มรรค 8 ถ้าเราเปลี่ยนกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขในชีวิตให้น้อยลง หรือให้เป็นไปตามเงื่อนไขความจริงของอริยสัจ คือ ทุกอย่างเกิดขึ้นตามเหตุ ตามปัจจัย มีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา ถือว่าเป็นผู้ที่มาตามกร
more
ธรรมะรับอรุณ Live 22 ม.ค. 2567 - [6704-1u_Live]
2024/01/22
ธรรมะรับอรุณ Live 22 ม.ค. 2567 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
วิธีทำจิต เมื่อต้องเผชิญกับความเจ็บป่วย [6703-1u]
2024/01/14
ช่วงไต่ตามทาง: ท่านผู้ฟังป่วยเป็นโรคมะเร็งปอด และเสียชีวิตแล้ว ความป่วยมี 2 อย่าง คือ ป่วยกายกับป่วยใจ ก่อนเสียชีวิต ท่านไม่มีการร่ำไห้คร่ำครวญ นึกเสียใจ แต่มีพลังจิตพลังใจเข้มแข็งมาก ยังสอนลูกหลานว่าความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา ทุกคนต้องตาย ธรรมะที่ทำให้บุคคลนี้ยังมีความผาสุกอยู่ได้แม้มีความตายมาจ่ออยู่ตรงหน้า คือ การตั้งสติไว้ มีการฟังเทศน์อยู่สม่ำเสมอ เมื่อมีทุกขเวทนาเกิดขึ้น พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่ามี 2 วิธี คือ ใช้สุขาปฏิปทา คือ การหลบจากความเจ็บปวดด้วยการเข้าสมาธิ หรือใช้ทุกขาปฏิปทา คือ การพิจารณาลงไปในความเจ็บปวดทางกายนั้น จิตแยกกับกายได้ ทุกขาปฏิปทานี้ เป็นวิธีการ หรือการพิจารณาชนิดที่เป็นที่สบายต่อการบรรลุนิพพาน คือ เห็นโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: วิธีทำจิต เมื่อต้องเผชิญกับความเจ็บป่วย Stage 1 ยังไม่ป่วยกาย-หากกายยังไม่ป่วย ก็อย่าให้ใจป่วย ที่ตั้งแห่งความเบาใจ 4 ประการ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และศีลของเรา ให้ยึดไว้เป็นสรณะ จิตของเราก็จะมีความเบาใจได้ อย่าเอาจิตของเราไปใส่ไว้ในจุดที่หนักใจ กังวลใจ ดูข่าวพอประมาณ ให้มีความรู้ที่จะทำให้เมื่อป่วยจริงแล้วจะมีความผาสุกอยู่ได้ และต้องฝึกสติให้มีกำลังมากขึ้น และสมาธิต้องเข้าได้ง่าย ตั้งอยู่ได้นาน ต้องฝึกให้มีความชำนาญ Stage 2 เจ็บป่วย แต่ไม่มาก-ให้ฝึกทำตั้งแต่ตอนที่ยังมีทุกขเวทนาทางกายไม่มาก คือ ให้มีความเพียรตั้งสติเอาไว้ ใคร่ครวญแยกแยะสุขเวทนา ทุกขเวทนา กุศลธรรม อกุศลธรรม และพิจารณาฐานะความเจ็บไข้ ที่จะไม่ได้มาด้วยการอ้อนวอนขอร้อง ถ้ามีเหตุเกิดของโรค โรคก็ย่อมเกิด เป็นธรรมดาที่จะต้องเจ็บป
more
แนวทางการสั่งสอนเด็กในปัจจุบัน [6702-1u]
2024/01/07
Q1: ทำอย่างไรให้กรรมชั่วที่เคยทำไว้ สิ้นผลไปโดยเร็ว A: หลักการทั่วไป คือ กรรมชั่วจะให้ผลเป็นความไม่ดี ทุกขเวทนา ส่วนกรรมดี จะให้ผลเป็นความสุข แต่หลักการนี้มีเงื่อนไขตัวแปร 2 อย่าง คือ เวลาและความหนักเบา เวลา: กรรมจะให้ผลในปัจจุบันหรือในเวลาต่อมา และต่อมาอีก, ความหนักเบา: ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหรือสถานการณ์หลายอย่าง เปรียบเหมือนเกลือกับความเค็ม เกลือเค็มอยู่แล้ว แต่จะเค็มมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่ามีน้ำน้อยหรือน้ำมาก ถ้าน้ำน้อยก็เค็มมาก ถ้าน้ำมากก็เค็มน้อย ตัวอย่าง ท่านองคุลีมาล เป็นต้น สำหรับ “ปฏิปทาให้ถึงความสิ้นกรรม” นั้น ต้องปฏิบัติตามมรรค 8 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าเราทำให้มาก เจริญให้มากแล้ว อันนี้จะเป็นปฏิปทาให้ถึงความสิ้นกรรมได้ เร็วอย่างมากก็ 7 ปี ทั้งนี้ จะเร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา) ว่ามีความแก่กล้าหรือไม่ Q2: การทำความดีกับการทำบุญ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร A: “ความดี” กับ “บุญ” เป็นคำไวพจน์กัน แต่บุญจะหมายเอาในบริบทเรื่องของจิต ส่วนความดีจะหมายเอาในบริบทเรื่องของการกระทำทางกาย วาจา ใจ แต่บางครั้งบุญก็อาจให้ผลเป็นทุกขเวทนาได้ เปรียบกับการกินยาขม ตอนกินมีรสขม แต่เมื่อยาออกฤทธิ์แล้ว อาการเจ็บป่วยก็ดีขึ้น ให้ผลเป็นความสุข ส่วนคนที่ทำชั่วแล้วได้ดี เปรียบกับเครื่องดื่มรสหวาน กลิ่นหอม สีสวย แต่เจือไปด้วยยาพิษ ตอนกินเข้าไปมีรสอร่อย แต่พอพิษออกฤทธิ์ ก็จะเจ็บปวด ให้ผลเป็นความทุกข์ Q3: การสั่งสอนเด็กสมัยนี้ มีแนวทางอย่างไร A: สำหรับวันเด็ก ให้ทบทวน 2 ส่วน ส่วนแรก สิ่งที่แตกต่างกัน คือ ความต้องการของเด็ก ต้องเข้าใจลูก เข้าใจว่าสังคมมันเปลี่ยนแปลงไป จะสอนเหมือน
more
วิธีทำให้ "ความหวัง ความมั่นใจ" มีอยู่ตลอดปี 2567 [6701-1u]
2023/12/31
ช่วงไต่ตามทาง: คุณจอย ได้รับทุกขเวทนาทางใจ คือ ถูกสามีนอกใจ และได้รับทุกขเวทนาทางกาย คือ พบว่าตนป่วยเป็นมะเร็งปอดระยะที่หนึ่ง ในสถานการณ์ที่หมดหวัง ครอบครัวแตกสลาย และยังเจอโรคภัยไข้เจ็บร้ายแรง แต่ด้วยการมีธรรมะรักษาจิตใจไว้ ทำให้ยังมีความหวัง ความมั่นใจที่จะดำเนินชีวิตให้ดีได้ ความหวังความมั่นใจนี้ คือ “ศรัทธา” ที่ตั้งเอาไว้ ทำให้มีการปฏิบัติธรรม มีเมตตา มีอุเบกขา ประกอบด้วยปัญญาในการปล่อยวาง เห็นว่าสุขทุกข์เป็นเรื่องธรรมดา จิตใจประกอบด้วยกำลัง คือ อินทรีย์เป็นพละ เหล่านี้ ทำให้ในสถานการณ์ที่สิ้นหวัง ก็ยังสามารถดำรงอยู่ได้ จิตใจมีความเข้มแข็ง สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ โดยมีเป้าหมายในชีวิต คือ การปฏิบัติธรรมให้ละเอียดสูงขึ้น ให้จิตมีกำลังมากขึ้น ประกอบด้วยความหวัง และกำลังใจ ตอนนี้คุณจอยมีความสบายใจมาก ภูมิใจมากที่ได้ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า ขอบคุณความทุกข์ที่ทำให้เห็นธรรม การฟังธรรมะอยู่เป็นประจำ ได้ฝึกปฏิบัติธรรม ทำให้จิตใจมีความเข้มแข็ง เกิดปีติอยู่ภายใน ส่งผลให้ร่างกายฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็ว ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: ให้เรามีศรัทธา มีความมั่นใจ มีความหวังที่ประกอบด้วยปัญญา ในปี 2567 นี้ ในช่วงใกล้ปีใหม่ คนเรามักจะมีความหวังว่าปีหน้าจะดีขึ้น แต่ถ้าตั้งความหวังไว้ไม่ถูกตั้งแต่แรก ก็จะไปผิดทาง กล่าวคือ คนที่รักสุข เกลียดทุกข์ ก็จะแสวงหาแต่ความสุขแล้วผลักความทุกข์ออกไป แต่สิ่งนี้ไม่ถูกต้องเพราะสุขทุกข์เกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา เปรียบเหมือนการตั้งใบเรือ หรือตั้งหางเสือผิด ก็จะไปผิดทาง จึงให้กลับมาตั้งทิศทางใหม่ให้ถูกต้อง คือ ให้ตั้งศรัทธา คือ ความมั่นใจที่ประกอบด้วยป
more
ทบทวนตนเองด้วย "สัมมาวายามะ" [6652-1u]
2023/12/24
ประชาสัมพันธ์ กิจกรรมขุมทรัพย์แห่งใจ จัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม 2567 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ หอประชุมกองทัพเรือ ลงทะเบียนได้ที่ http://panya.org/newyear หรือ http://linkdd.co/newyear หลักธรรมที่นำมาใช้สำหรับการทบทวนตนเองในรอบปี คือ “สัมมาวายามะ” โดยแบ่งเป็น 2 หมวด คือ กุศลธรรม (ความดี) และอกุศลธรรม (ความไม่ดี) ให้ทบทวนดูว่าในรอบปี ตัวเรามีอกุศลธรรม เพิ่ม ลด หรือมีเกิดขึ้นใหม่หรือไม่ เช่น พูดชั่ว คิดชั่ว ทำชั่ว ทำผิดศีล ขี้เกียจ เป็นต้น และทบทวนว่ามีกุศลธรรม เพิ่มขึ้นหรือไม่ การตรวจสอบตัวเองก็ต้องไม่เข้าข้างตัวเอง ถ้าพบว่าตนเองกุศลธรรมไม่เพิ่มแต่มีอกุศลธรรมเพิ่ม ก็ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง เพราะหากเราทำแบบเดิมแล้วหวังว่าจะได้ผลแบบใหม่ก็จะไม่เป็นอย่างนั้น ถ้าเราหวังจะให้ผลเปลี่ยนแปลงไป ก็ต้องเปลี่ยนวิธีการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การตั้งเป้าหมาย เพื่อนฝูง พฤติกรรมที่เป็นอยู่ เป็นต้น ซึ่งวิธีการ หรือกระบวนการนั้น อยู่ในมรรค 8 การปล่อยวางกับการวางเฉย “การวางเฉย” มาจากคำว่า อุเบกขา อุเบกขา คือ การวางเฉยในสุขเวทนา และทุกขเวทนา เจาะจงลงไปในเรื่องของเวทนาเท่านั้น ส่วน “การปล่อยวาง” มาจากคำว่า วิราคะ (การคลายกำหนัด) การที่วางขันธ์ 5 ได้ทั้งหมด โวสสัคคะ (การสละคืน) หรือ นิโรธ (ความดับ) โดยลำดับขั้นตอนในการปล่อยวางสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ เป็นดังนี้ 1. มีจิตเป็นสมาธิ 2. เกิดปัญญาเห็นสิ่งนั้นตามความเป็นจริง 3. เกิดความเบื่อหน่าย (นิพพิทา) 4. เกิดความคลายกำหนัด (วิราคะ) 5. เกิดการสละคืน (โวสสัคคะ) หรือความดับ (นิโรธ) ความดับเกิดขึ้นได้ก็ เพราะปล่อยวางได้แล้ว การปล่อยวางไม่เหมือนกับ การไม่สนใจ ไม่แยแส ไม่แคร์ ปล่อยทิ้ง ไม่รับผิดชอบ อย่างนี้ไม่ใช่การปล่อยวาง การด่
more
วิธีพัฒนาตนเอง ต้อนรับปีใหม่ [6651-1u]
2023/12/17
ช่วงไต่ตามทาง: การที่เรารู้สึกว่าโลกวุ่นวาย นั่นคือ จิตใจของเราเองต่างหากที่มันวุ่นวาย แต่เมื่อจิตของเราได้ฟังธรรม ก็จะรู้สึกได้ว่าโลกมันเปลี่ยน แม้ความเป็นจริงโลกจะไม่ได้เปลี่ยน โลกก็ยังเป็นโลกเหมือนเดิม มันเป็นไปตามเงื่อนไขตามกระแสของมัน แต่จิตของเราที่ถูกชโลมด้วยกระแสแห่งธรรม มีความเย็นอยู่ใต้ร่มแห่งธรรมะของพระพุทธเจ้า จะมีความผ่อนคลาย สบายใจ ทำให้การตอบสนองต่อโลกมันเปลี่ยนแปลงไป กรณีบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องเจอสิ่งมากระทบหลายด้าน ทั้งโรคภัยไข้เจ็บของคนไข้ ญาติของคนไข้ พยาบาล หรือหมอด้วยกัน เรื่องที่ทำให้เกิดความไม่พอใจมีมาก จากที่เคยมีอารมณ์ฉุนเฉียว โกรธ ไม่พอใจ แต่เมื่อได้ฟังธรรมะแล้ว ได้แผ่เมตตา ได้ปรับปรุงตัวเองให้พูดจาดีดี ใจเย็น ก็พบว่ามีจิตใจที่สงบขึ้น ปล่อยวางได้ การวินิจฉัยโรคของคนไข้ก็เห็นได้ชัดเจน ถูกต้องมากขึ้น คนไข้ และญาติของคนไข้ก็มี Feedback ที่ดีกลับมา สิ่งมหัศจรรย์ คือ การที่มีการแสดงธรรม มีผู้ฟังธรรม และผู้ฟังธรรมได้รับประโยชน์ เพราะเมื่อมีคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่ จึงมีการทวนกระแสที่เกิดจากการฟังธรรมะ เจตนารมณ์ของพระอาจารย์ คือ การที่ท่านผู้ฟังได้นำความรู้ ได้นำธรรมะที่ได้รับฟังนำไปใช้แล้วเกิดประโยชน์ ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: ทบทวนตนเอง ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ให้ทบทวนตนเอง ทั้ง 3 ทาง ได้แก่ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ ส่วนใดที่เป็นกุศลกรรม ถ้ายังไม่มีก็ทำให้มี ที่มีอยู่แล้วก็ทำให้ดีขึ้น ส่วนใดที่เป็นอกุศลกรรม ถ้ายังไม่มีก็อย่าให้เกิดขึ้น ถ้ามีอยู่แล้วก็ต้องละเสีย ความเกี่ยวเนื่องในการกระทำทางกาย ทางวาจา และทางใจ มีได้และเป็นได้ทั้งในท
more
ศรัทธากับปัญญา [6650-1u]
2023/12/10
Q1: พระพุทธเจ้าตรัสถึงการฆ่าตัวตายไว้อย่างไรบ้าง? A: การฆ่าโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นตัวเองหรือสัตว์อื่น ไม่ดีทั้งนั้น เพราะเป็นการทำชีวิตของบุคคลหรือสัตว์ให้ตกล่วงลงไป เว้นแต่จะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ไม่ก่อนและไม่หลังจากการตาย การฆ่าตัวตายเพราะโรคซึมเศร้า ซึ่งเกิดจากความบกพร่องทางสมองหรือทางจิต โดยไม่ได้มีเจตนาทำบาปทำกรรมนั้น ถ้ายังมีราคะ โทสะ โมหะ ยังไงก็เป็นเจตนา  Q2: งานก่อสร้างถือเป็นกิจของสงฆ์หรือไม่?   A: พระพุทธเจ้าตั้งชื่องานก่อสร้างของพระสงฆ์ไว้ว่า “นวกรรม” งานก่อสร้างบางอย่างมันจำเป็น แต่ทรงเตือนไว้ว่า อย่าทำให้มันมาก อย่ายุ่งวุ่นวายกับมันเยอะ เพราะจะเป็น “เครื่องเนิ่นช้า” เป็นเหตุให้ 1. พระวินัยหย่อนยาน 2. ตั้งสติปัฏฐาน 4 ได้ยาก 3. เพื่อนไม่รัก  Q3: บทสวดมนต์ใดที่ทำให้หายเจ็บป่วย A: พระพุทธเจ้าสอนว่า “ถ้าคนจะสำเร็จอะไรได้ทุกอย่างเพียงการอ้อนวอนแล้ว จะไม่มีใครเสื่อมจากอะไร” ถ้าลำพังการสวดมนต์แล้วทำให้หายเจ็บป่วยได้ โลกนี้ก็จะไม่มีใครตาย การสวดมนต์ในทางพระพุทธศาสนา คือ การพูดกล่าวตามที่พระพุทธเจ้าได้เคยสอนไว้หรือสัชฌายะ (Recitation) ไม่ใช่การสวดเพื่อขอพร (Pray) การที่เรามีความเจ็บไข้ได้ป่วยได้ ก็เพราะมีกายนี้ เมื่อมีกายก็ย่อมมีเวทนาที่เกิดขึ้นในกาย พอมีเวทนาเกิดขึ้นในกาย ก็ย่อมมีแก่ มีเจ็บ มีตาย จะไม่ให้มีสิ่งเหล่านี้ ก็ต้องอย่าเกิด การเข้าใจเรื่องโพชฌงค์ 7 สติปัฏฐาน 4 หรือสัญญา 10 ประการ จะทำให้เรากำจัดความเกิดได้ ถ้ากำจัดความเกิดได้ ก็จะกำจัดความเจ็บไข้ได้ป่วยได้ รวมถึงกำจัดความตายได้ นี่ต่างหากที่เป็นแก่นแท้ (Essence) ของบทสวดมนต์นั้น  Q4: การทานเนื้อสัตว์ เป็นบาปหรือไม่? A: การทานเนื้อสัตว์ มีท
more

Podcast reviews

Read 1 สมการชีวิต podcast reviews


5 out of 5
2 reviews
ContemplativeAscetic 2019/12/09
ไม่เคยรู้มาก่อนเลยครับ!
พอดแคสท์ “สมการชีวิต” ให้ความรู้มากๆ เลยครับ ก่อนที่จะได้มาฟัง ไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าพระพุทธเจ้าท่านได้สอนเรื่องวิธีการใช้ชีวิต ไว้มากขนาดนี้ เป็น...
more
check all reviews on aple podcasts

Podcast sponsorship advertising

Start advertising on 1 สมการชีวิต & sponsor relevant audience podcasts


What do you want to promote?

Ad Format

Campaign Budget

Business Details