7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)

Advertise on podcast: 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)

Rating
5
from
1 reviews
This podcast has
288 episodes
Language
Date created
2019/08/01
Average duration
56 min.
Release period
7 days

Description

การพูดคุยปรึกษา คือ สากัจฉาทำให้เกิดความไม่ประมาทและมีปัญญาได้, มีคำถามอยู่ที่ไหน ก็มีคำตอบอยู่ที่นี่, ตอบทุกข้อสงสัย ทั้งในการดำเนินชีวิต, หลักธรรม หรือการภาวนา โดย ร่วมพูดคุยกับคุณเตือนใจ สินธุวณิก และ พระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณฺโณ ในช่วง "ตามใจท่าน".New Episode ทุกวันอาทิตย์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ donhaisok.fm Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

Podcast episodes

Check latest episodes from 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา) podcast


สังโยชน์ 10 ประการ [6708-7q]
2024/02/24
Q : การฝึกสมาธิแบบไม่มีเสียงอะไรเลยกับฟังธรรมะไปด้วย มีผลแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร? A : เราควรฝึกให้ชำนาญทั้ง 2 แบบ เราทำได้ตรงไหน ให้ทำตรงนั้นก่อน แล้วฝึกให้ชำนาญยิ่ง ๆ ขึ้นไป พอชำนาญแล้ว โอกาสที่เราจะบรรลุธรรมก็จะเพิ่มขึ้น เพราะจุดที่จะบรรลุธรรม คือ จุดที่มีผัสสะ หากมีผัสสะแล้ว เราสามารถรักษามรรค 8 ได้ ตรงนั้นจะเป็นโอกาสที่เราจะบรรลุธรรม   Q : จากข่าวเสื่อมเสียทางพุทธศาสนา ทำให้ทางบ้านคัดค้านเรื่องทำบุญ จะแก้ไขอย่างไร? A : การทำบุญนั้นไม่ได้มีเพียงการให้ทานเพียงอย่างเดียว ไม่จำเป็นต้องทำที่วัด ทำบุญที่ไหนก็ได้ ทำในที่ที่เรามีศรัทธา ให้รอเวลาที่เหมาะสม แล้วค่อยชี้แจงกับเขา ค่อย ๆ อธิบายให้เขาเข้าใจว่า ข่าวที่เสื่อมเสียหมายถึงผู้ปฏิบัติ ส่วนคำสอนนั้นไม่ได้เสื่อม ผู้ทำตามคำสอนต่างหากจะทำตามได้หรือไม่ อย่าเหมาทั้งหมด เมื่อเขาเข้าใจ เป็นการเพิ่มปัญญาให้กับบุคคลอื่น เราก็จะได้บุญด้วย    Q : การบรรลุโสดาบันคืออะไร? A : โสดาบัน หมายถึง ผู้เข้าสู่กระแส / อุปมาดัง เราออกจากฝั่งที่มีอันตรายเต็มไปด้วยความทุกข์มาถึงกระแสกลางแม่น้ำ สามารถหลบหลีกอุปสรรคเครื่องทดสอบ เกาะกระแสแม่น้ำไปเรื่อย ๆ จนไปสู่ปากน้ำ ซึ่งปากน้ำในที่นี้หมายถึงนิพพาน    Q : นำสังโยชน์ 10 ประการ มาใช้ในชีวิตได้อย่างไร? A : สังโยชน์คือเครื่องร้อยรัด ให้จิตของเรายังอยู่ในภพ, สังโยชน์ 10 ประการ ได้แก่ 1. สักกายทิฏฐิ คือความเห็นว่าขันธ์เป็นตัวตน/ยึดถือว่าสิ่งนี้เป็นตัวตน 2.วิจิกิจฉา คือความเคลือบแคลง ความลังเล ความเห็นแย้ง ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ 3.สีลัพพตปรามาส คือความยึดมั่นอยู่ในศีลและพรต ที่ไม่ใช่ที่พระพุทธเจ้าสอน เป็นสิ่งที่ไม่ได้จะทำให้
more
สังขตธรรม | อสังขตธรรม [6707-7q]
2024/02/17
Q : ได้ฟังสวดอภิธรรม เมื่อตายแล้วจะได้ขึ้นสวรรค์หรือไม่?  A : การสวดอภิธรรมพึ่งมีในสมัยนี้ เป็นพิธีของคนเป็น ตายแล้วจะได้ขึ้นสวรรค์หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการรักษาจิต ว่าเราระลึกถึงความดีของเราได้หรือไม่  Q : เมื่อข้อปฏิบัติละเอียดขึ้น กิเลสละเอียด ที่ซ่อนอยู่ในจิตใจก็จะแสดงออกมา เข้าใจถูกหรือไม่? A : เราจะไม่สามารถเห็นกิเลสอย่างละเอียดได้ หากเรายังไม่กำจัดกิเลสอย่างหยาบ ซึ่งเราจะเห็นกิเลสอย่างละเอียดได้ ก็ด้วยการปฏิบัติที่ละเอียดลงไป เมื่อข้อปฏิบัติของเราละเอียดลงไป จิตก็จะละเอียดตาม เราก็จะเห็น กิเลสอย่างละเอียด ๆ ที่ซ่อนอยู่ในจิตใจเรา Q : กฎไตรลักษณ์เรื่องของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ใช้กับสิ่งที่เป็นธรรมชาติเท่านั้นหรือรวมถึงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วย? A : เราใช้ “กฎไตรลักษณ์” เป็นการแบ่ง 1. “สังขตธรรม” คือ ธรรมะที่มีการปรุงแต่งได้ ทุกสิ่งที่ปรุงแต่งได้ โดยปรุงแต่งจากรูปแบบหนึ่งให้สำเร็จรูปโดยความเป็นรูปอีกแบบหนึ่ง ทั้งที่มีวิญญาณครองและไม่มีวิญญาณครอง มีการเกิดปรากฏ มีความเสื่อมปรากฏ เมื่อตั้งอยู่มีภาวะอื่น ๆ ปรากฏ ซึ่งก็คือระบบของสังสารวัฏนี้ 2. “อสังขตธรรม” คือ ธรรมะที่ไม่มีการปรุงแต่งแล้ว ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแล้ว ไม่มีการเกิดปรากฏ ไม่มีความเสื่อมปรากฏ เมื่อตั้งอยู่แล้วไม่มีภาวะอื่นปรากฏ (นิพพาน) Q : การภาวนาที่เป็นแบบฉบับตนไม่เหมือนคนอื่น จัดเป็นอนุสติเฉพาะตนตามแนวธรรมะของพระพุทธองค์หรือไม่? A : ครูบาอาจารย์ที่ท่านสอน ท่านชำนาญวิธีไหน ท่านก็สอนตามวิธีที่ท่านรู้ ให้เราก็นำมาเทียบเคียงกับหลักคำสอน ดูว่าใกล้เคียงกัน ลงรับกันได้ตรงไหน สิ่งที่ท่านตรัสรู้ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
more
สมาธิ เจริญได้ เสื่อมได้ [6706-7q]
2024/02/10
Q : การศึกษาพุทธศาสนามี 2 ด้าน หรือมีด้านเดียว? A : พิจารณาได้ทั้ง 2 นัยยะ นัยยะแรกพิจารณา 2 ด้านคือ พิจารณาทั้งประโยชน์และโทษ อีกนัยยะหนึ่ง พิจารณาด้านเดียว คือพิจารณาทางสายกลาง/มรรค 8 เมื่อพิจารณาแล้วเข้าใจในข้อที่เป็นทางสายกลาง กิเลสก็จะลดลง Q : สมาธิเสื่อมได้หรือไม่ เกิดจากเหตุปัจจัยใด? A : สมาธิเกิดจาก เหตุ, เงื่อนไข, ปัจจัย สิ่งใดที่เกิดจาก เหตุ, เงื่อนไข, ปัจจัย สิ่งนั้นไม่เที่ยง สมาธิเมื่อเกิดได้ก็เสื่อมได้ / เหตุแห่งการเสื่อมสมาธิ อาจเพราะกายเมื่อยล้า, คลุกคลีมาก สามารถทำให้เจริญได้ด้วย การไม่ยินดีในการเอนกาย รู้จักหลีกเร้น การปฏิบัติตามมรรค8 จะช่วยปรับให้ไปตามทาง รู้จักเอาประโยชน์ หลีกออกจากโทษได้ Q : ขณะนั่งสมาธิ รู้สึกเคลิ้มจนลืมภาวนา ลืมลมหายใจ ขาดสติหรือไม่? A : ลืม เผลอ เพลิน คือ ขาดสติ ให้เราตั้งสติสัมปชัญญะขึ้น เห็นความเกิดขึ้น ความดับไป ฝึกให้ชำนาญ ในการเข้า ในการดำรงอยู่และในการออก ทำบ่อยๆ เพ่งอยู่ตรงนี้ เราจะรู้ตัวทั่วพร้อม รู้พร้อมเฉพาะ ในการที่ความคิดนั้นดับไป Q : ขณะบริกรรมพุทโธ ครูอาจารย์ก็เทศน์สอนด้วย เราควรเอาสติไปจับอยู่กับอะไร? A : ตั้งสติอยู่กับโสตวิญญาณ (การรับรู้ทางหูด้วยเสียง เกิดในช่องทางใจ ) Q : นั่งสมาธิแล้วฟุ้งซ่าน รู้สึกเบื่อท้อ ไม่อยากนั่งต่อ ควรแก้ไขอย่างไร? A : ให้พิจารณาเอาจิตจดจ่อ ตรงที่เราทำได้ จิตก็จะน้อมไปทางนั้น จิตเราเมื่อ “น้อมไปทางไหน สิ่งนั้นจะมีพลัง” หากเราตริตรึกแต่ตรงที่ฟุ้งซ่าน ท้อแท้ จิตเราจะไปในทางอกุศล  Q : ผู้ปฏิบัติดี มีสมาธิมั่นคง เมื่อถึงที่สุดแห่งทุกข์คือการหลุดพ้นแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติต่อไปอีก? A : ท่านยังต้องปฏิบัติอยู่ ยังมีศีล สมาธิ ปัญญาอยู่
more
จุดที่กลับตัวไม่ทัน [6705-7q]
2024/02/03
Q : สุขอย่างไรไม่ประมาท A : เวลาที่เรามีความสุขความสำเร็จ เราไม่ควรประมาท เพราะจะมีอาสวะบางเหล่า ที่จะเกิดขึ้นต่อเมื่อคุณมีชื่อเสียง มีลาภยศสักการะ หากเราเพลินเราพอใจไปในความสุขความสำเร็จ จะเกิด “อกุศล” / ถ้าเรามี “สุขเวทนา” แล้วเรายินดีพอใจ เพลิดเพลิน ลุ่มหลง นี่เป็น “อกุศล” คือเราประมาท ถ้าไม่ประมาท คือ เราจะเห็นด้วยปัญญาตามความจริงว่า “สุข” นี้เป็นของไม่เที่ยง เราก็จะไม่ลุ่มหลง เพลิดเพลิน มัวเมาในสุขที่เกิดขึ้นนั้น พอเราไม่ลุ่มหลง ไม่เพลิดเพลิน ไม่มัวเมา นั่นคือ “กุศลธรรม” Q : แยกแยะ ดี ไม่ดี, สุข ทุกข์, กุศล อกุศล A : “สุข” คนมักจะเชื่อมโยงความสุขกับความดี/กุศล และ “ทุกข์” คนมักจะเชื่อมโยงกับ “ความ ไม่ดี/อกุศล” ซึ่งมันไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสมอไป ซึ่งหากเรามี “ทุกขเวทนา” มากระทบแล้วเราสามารถอดทน มีเมตตา พูดดี ๆ กลับไปได้ ทุกขเวทนานั้นกลับทำให้เกิด “กุศล” หากเรามี “สุขเวทนา” มากระทบแล้ว เราเพลินพอใจลุ่มหลงไปในมัน สุขเวทนานั้นจะทำให้เกิด “อกุศล” ได้ และหากเรามีสุขเวทนาแล้วเราเห็นด้วยปัญญาตามความเป็นจริงว่า “สุขเวทนา มันเป็นของไม่เที่ยง” เห็นด้วยปัญญา จิตเราก็จะเกิดกุศลได้ อยู่ที่เราตั้งสติ พอเรามีสติ เราก็จะไม่ประมาท จะไม่เพลินไปในทุกข์หรือสุข ตั้งอยู่ในกุศลได้ Q : จุดที่กลับตัวไม่ทันแล้ว (Point of No return) A : จะเป็นจุดหนึ่งที่เรากลับตัวไม่ทันแล้ว คือทำไปมากจนเลยจุดกลับตัวแล้ว ซึ่งจุดนี้แต่ละคนไม่เท่ากัน เช่น เราประมาททำสิ่งที่เป็นความชั่วอยู่เรื่อย ๆ มันจะแก้ยาก มันจะกลายเป็นผิดพลาด แม้จะทำความชั่วเพียงนิดหน่อยก็จะให้ผลเร็วเพราะมันจะถึงจุดที่ว่ากลับไม่ทันแล้วทำชั่วมามากแล้ว สำหรับในบางคนที่
more
ความเท่าเทียมของบุญและบาป [6704-7q]
2024/01/27
Q : คำถามในวันงาน 21 ม.ค. เกี่ยวกับมูลนิธิปัญญาภาวนาและกิจกรรม A : มูลนิธิปัญญาภาวนาเกิดขึ้นเพื่อความสะดวกในการจัดการระบบการจัดรายการธรรมะ    Q : ค่าของคนไม่เท่ากัน? คนรวยคนจนทำบุญได้บุญไม่เท่ากัน? วัดจากอะไร? A : พระพุทธเจ้าและเหล่าพระอริยะเจ้า ท่านจะไม่คิดว่า คนที่อยู่ในวรรณะสูง เมื่อทำบาปแล้วจะบาปน้อยกว่าคนที่อยู่วรรณะต่ำ หรือคนที่อยู่ในวรรณะต่ำ เมื่อทำบุญแล้วจะได้บุญน้อยกว่าคนที่อยู่ในวรรณะสูง เพราะบาปก็คือบาป บุญก็คือบุญ ท่านมีความเข้าใจเรื่องนี้ จึงไม่แบ่งชนชั้นวรรณะ นั่นคือบุญและบาปมันก็เป็นของมันเหมือนเดิม ไม่ว่าจะวรรณะสูงหรือต่ำก็ตาม ดังนั้น อะไรก็ตาม ที่เมื่อมีการนำมาเปรียบเทียบกัน แล้วเราจะหาความยุติธรรมในสิ่งที่นำมาเปรียบเทียบกันนั้นเราจะหาไม่เจอ เราจึงต้องมีแนวทาง ซึ่งท่านให้ไว้เป็น 3 ส่วนคือ 1) การกระทำทางกาย วาจา ใจ 2) กรรมและผลของกรรม ซึ่งกรรมและผลของกรรมนั้นเป็นคนละอย่างกัน คือ หากเราทำกรรมใด เราจะได้รับ ”ผล” ของกรรมอย่างนั้น  3) ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว คือ ทำดีได้ดี ดีตรงที่ได้ทำ ได้ผล ซึ่งผลบางทีอาจจะออกตอนนั้น ในเวลาต่อมา บางทีให้ผลช้า ให้ผลเร็ว บางทีให้ผลมาก ให้ผลน้อย ไม่เท่ากัน หากเราทำความดีแล้วถูกสาบแช่ง ความดีก็เป็นของเราอยู่ดี ไม่ใช่ว่าเราจะได้ไม่ดีตามที่เขาสาบแช่ง ในทางพุทธศาสนาไม่ได้สอนว่าใครเป็นเจ้าของใคร เพราะฉะนั้น คำว่าเจ้ากรรมนายเวรจึงไม่มี มีแต่คำว่า “ผูกเวร” ซึ่งการผูกเวรหรือการให้อภัย ก็เป็นเรื่องของบุคคลนั้นๆ ที่จะปรารภกับบุคคลอื่น แล้วเราจะให้อภัยหรือเราจะผูกเวรเท่านั้นเอง   Q : ชี้แจงอย่างไรต่อข่าวเสื่อมเสียของพุทธศาสนา ต่อศรัทธาที่ไม่ตรงกั
more
ธรรมะรับอรุณ Live 21 ม.ค. 2567 - ธรรมะยิ่งปฎิบัติ ยิ่งเจริญ [6703-7q_Live]
2024/01/22
Q : กุศลและอกุศลกรรรมบทในปัจจุบัน ? A : ท่านเคยเทศน์ไว้ว่า ในสมัยต่อมา อกุศลจะเจริญขึ้น กุศลจะเสื่อมลงไป โลกเราจะมีราคะโทสะโมหะเพิ่มมากขึ้น หมายถึงช่องที่จะรอดไปสู่นิพพานก็จะมีน้อยลง มนุษย์ช่วงนี้เป็นขาลง จิตใจจะแย่ลง พระพุทธเจ้าจึงอุบัติขึ้นเพื่อหาทางว่าจะไปยังไง พ้นได้อย่างไร ซึ่งไม่ว่าโลกนี้จะเป็นอย่างไร สิ่งที่สำคัญคือ วันนี้เราควรทำความดี เพราะโลกจะดีขึ้นไม่ได้ถ้าเราไม่ได้ทำความดี ซึ่งเมื่อเราทำความดีแล้ว ก็มีแนวโน้มที่เราจะชักนำคนรอบข้างไปทำความดีได้ ทำกุศลให้เกิดขึ้น Q : ศีล 8 กับ ผู้ครองเรือน ? A : “ศีล” เป็นไปเพื่อความไม่ร้อนใจ ยิ่งศีลเราละเอียดมากขึ้น กระบวนการที่จะทำให้เราเข้าสมาธิได้ ก็จะง่าย ก็จะช่วยเหลือกัน ซึ่ง ศีล 8 ก็จะมีอานิสงค์มากกว่า ศีล 5 แน่นอน ค่อย ๆ ทำไป ค่อย ๆ เพิ่ม จากศีล 5 เป็นศีล 8 จนทำเป็นปกติ Q : เข้าใจสุขเวทนาและทุกขเวทนา ? A : ความสุขความสำเร็จเป็นลักษณะของ สุขเวทนา คือ เป็นความทุกข์ที่ทนได้ง่าย ในขณะที่ ทุกขเวทนา เป็นทุกข์ที่ทนได้ยาก ซึ่งไม่ว่าสุขเวทนาหรือทุกขเวทนาก็เป็นทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น ถ้าเราเข้าใจว่าสุขคือสุข ตรงนี้เราจะเพลิน หลงไหล แล้วจะประมาทและสร้างอกุศลได้ Q : ทำไมคำสอนเหมือนกัน แต่ปฏิบัติไม่เหมือนกัน? A : ในศาสนานี้ มีผู้สอนคนเดียวคือพระพุทธเจ้า การสอนกับการปฏิบัติ คนละอย่าง เปรียบดัง แผนที่กับคนเดินตามแผนที่ ซึ่งคนเดินตามแผนที่ ปัญญาไม่เหมือนกัน การปฏิบัติแตกต่างกัน ให้ดูที่แนวทางการปฏิบัติ ถ้าเป็นไปในแนวทาง ศีล สมาธิ ปัญญา เช่นนี้ก็จะปฏิบัติไปได้ ไม่สับสน Q : เข้าใจธรรม เข้าใจความเสื่อมของสังขาร A : คำว่า อุปะ แปลว่า ผู้ที่เข้าไปหา เข้าไปนั่งใกล้ คำ
more
เข้าใจความเกิดดับ [6702-7q]
2024/01/13
Q : เหตุใดเมื่อกายดับ จิตจึงไม่ดับตามกาย? A : จิตกับกายล้วนมีความเกิดและความตายอยู่ทุกขณะ ที่เราเห็นมันต่อเนื่องเพราะมันเป็นความต่อเนื่องของกระแสที่เกิดและดับอย่างรวดเร็ว กายเราประกอบกันขึ้นจากหลาย ๆ เซลล์รวมกันเป็นอวัยวะ มีเซลล์ที่ตายและเซลล์ใหม่เกิดขึ้น ท่านกล่าวไว้ว่า ระหว่างกายกับจิต จิตที่มันเกิดและดับ จะเห็นความแตกต่างไม่ชัดเจนเหมือนกาย เพราะกายหากเซลล์เกิดน้อยกว่าดับ จะเห็นเป็นสภาพของความแก่ ซึ่งพอเราเห็นเช่นนี้ จะทำให้เราคลายกำหนัดในกายได้บ้าง ส่วนการทอดทิ้งร่าง การสละขันธ์ ความที่ไม่มีอินทรีย์คือชีวิต คือความตาย มันเห็นได้ชัดเจน แต่ตายแล้วก็ไม่ใช่ว่าไม่เกิด ความเกิดในที่นี้ใช้คำว่า “อุบัติ” ความดับใช้คำว่า “นิโรธ” ส่วนความเกิดที่เรียกว่า “ชาตะ” กับความตายที่เรียกว่า “มตะ” จะเป็นอีกคู่หนึ่ง จิตเราที่ว่าไม่ตาย ที่ว่าไปเกิดเรียกว่า “อุบัติ” ดับเรียกว่า “นิโรธ” เกิดดับ ๆ ถี่ ๆ จนเป็นกระแส ในขณะที่กายก็เกิดดับ ๆ ถี่ ๆ จนเป็นกระแส แต่กายจะมีจุดหนึ่งที่ดับมากกว่าเกิด คือ “มตะ” คือตาย ทอดทิ้งร่างนี้ไป และจะมีจุดที่เกิดคือ “ชาตะ” เกิดจากท้องแม่หรือผุดเกิดขึ้น ซึ่งก็เป็นไปตามสภาวะ (ภพ) ของสัตว์เหล่านั้น ๆ แต่ความเกิดที่เกิดขึ้นมานั้น คือ อุบัติขึ้นมา ตามสภาวะแต่ละกรรมที่สร้างมา เพราะฉะนั้น กายนี้ถ้าตายไป ก็เกิดเหมือนกัน คำว่าเกิดนี้หมายถึงมีสภาวะการเกิดเกิดขึ้น จากการที่จิตเกิดดับ ๆ มันต้องมีที่ยึด นามรูปมันต้องเกาะกัน ถ้ารูปนี้เป็นอินทรีย์คือชีวิต เกาะไม่ได้แล้ว นามก็ต้องไปหารูปอื่นเกาะขึ้น พอเกาะก็คือการก้าวลง คือการเกิด ส่วนที่ตายไปก็สละคืนไป ดับไป ทอดทิ้งร่างไป ไม่
more
เสขปฎิปทา [6701-7q]
2024/01/06
Q : ควรวางจิตอย่างไร สำหรับผู้ที่เริ่มปฎิบัติและผู้ที่รู้สึกว่ายังปฎิบัติแล้วยังไม่ก้าวหน้า? A : เปรียบดังคนจมน้ำที่ยังขึ้นอยู่ด้วยกาม จะว่ายน้ำเข้าฝั่งได้หรือไม่ ตรงนี้เป็นจุดที่เราจะเข้าฝั่งได้โดยไม่จม คือคุณธรรม 5 อย่างนี้ ได้แก่ ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ และปัญญา เรียกว่า "เสขปฏิปทา" หมายถึง กำลังของพระเสขะ เป็นกำลังของคนที่จะต้องทำต่อไป จะเป็นตัวแปรที่จะทำให้เราเกิดความก้าวหน้า ในที่นี้ต้องประกอบกับการมีกัลยาณมิตรด้วย ซึ่งคุณธรรม 5 อย่างนี้ จะทำให้เกิดขึ้นได้ด้วยการมีกัลยาณมิตร ในที่นี้คือมิตร คือผู้ที่ทำให้เราเกิด "กัลยาณธรรม" กัลยาณมิตรจะมี 4 ระดับ คือ 1) คำสอนของพระพุทธเจ้า 2) ฆราวาสผู้ครองเรือน ที่เป็นผู้มีศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา 3) พระพุทธเจ้า 4) พระสงฆ์, ครูบาอาจารย์ พอเรามีกัลยาณมิตรแล้ว คุณธรรม 5 ประการเจริญขึ้น ตรงนี้จะเป็นตรงที่เราพัฒนาได้ ให้เรามองว่าความก้าวหน้ามีอยู่ เข้าถึงแก่นคำสอนให้ได้ เดินไปอย่าหยุด ให้เห็นโทษของกาม เห็นประโยชน์ของสมาธิให้มาก เราต้องตั้งจิตไว้ว่า ทำไม่ได้ก็ต้องทำ ทำได้ก็ต้องทำ ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้แล้วไม่ทำ เราจึงควรต้องมีกัลยาณมิตร ซึ่งเมื่อเราเห็นโทษของกามมากขึ้น เราก็จะเห็นประโยชน์ของสมาธิ Q: อานิสงส์ของการปฎิบัติ? A: ทำให้เป็นคนเหนือคน เห็นว่าสุขทุกข์เป็นเรื่องธรรมดาของโลก จะเข้าใจและรับได้หมด ไม่ว่าสุขหรือทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดีใจ ทุกข์ก็ร้องไห้ สติปัญญา จึงทำให้เป็นคนเหนือคนขึ้นมา Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
more
ถึงวิมุตติด้วยธรรมะ 5 ประการ [6652-7q]
2023/12/30
Q : อธิบายธรรมะ 5 ประการที่ทำให้ถึงวิมุตติ    A : 5 ประการนี้ จะทำให้ได้บรรลุอรหันต์, เป็นอนาคามี, ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ความดับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม นิพพานได้, ทำให้เกิดความสิ้นอาสวะ, ทำให้มีเจโตวิมุตติ, ปัญญาวิมุตติ เป็นอานิสงสได้ เป็นต้น   Q : พิจารณาเห็นความไม่งามในกาย   A : เมื่อพิจารณากายแล้วเห็นความไม่งามในกาย เห็นไปตามจริงด้วยปัญญา จะทำให้เราคลายความยึดถือ ซึ่งการคลายความยึดถือนี้ไม่ใช่คลายเพราะขยะแขยงเกลียดชัง แต่เป็นการคลายความเพลินความพอใจในกาย เมื่อเรายอมรับและเห็นไปตามจริงด้วยปัญญา เราก็จะอยู่กับทุกข์ได้โดยไม่ทุกข์   Q : กำหนดหมายความด้วยความเป็นปฏิกูลในอาหาร   A : พิจารณาความเป็นปฏิกูลในอาหารจากรูป กลิ่น รส เช่น พิจารณาอาหารที่ทานเข้าไปกับตอนออกมาจากกาย พิจารณาอาหารที่หล่นบนพื้น พิจารณาอาหารที่คนอื่นทานเหลือแล้วเอามาให้เราทาน เมื่อพิจารณาดังนี้แล้ว จะทำให้เวลาเราทานอาหาร ก็จะทานเพียงเพื่อให้ชีวิตตั้งอยู่ได้ ระงับเวทนาเก่าไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ทำให้พอดี ๆ เพื่อให้จิตเรามี “มัชฌิมาปฏิปทา”   Q : กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง   A : พิจารณาให้เห็นว่าโลกทั้งปวงไม่น่าเพลิดเพลิน ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวหรือสิ่งของ ให้เห็นไปตามจริงในความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง คือเห็นโดยความที่ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย มันเปลี่ยนแปลงได้ / สังขาร หมายถึง การปรุงแต่ง ซึ่งพอมีการปรุงแต่งใด ๆ แล้ว นั่นคือ ความไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยงก็เป็นทุกข์ มันจะให้ผลเหมือนเดิมไม่ได้    Q : กำหนดจิตอยู่กับมรณะสัญญา   A: “มรณะสัญญา” คือ ความสำคัญหมายในความตาย ว่าความตายมีอยู่ ณ ขณะนี้ เห็นค
more
โทษของความรัก [6651-7q]
2023/12/23
Q : เมื่อคนรักเปลี่ยนไป ธรรมะข้อไหนที่ช่วยคลายความทุกข์ใจ?   A : ท่านเคยเตือนไว้ เมื่อเรารักสิ่งใด สิ่งนั้นจะมาเป็นทุกข์กับเรา เราจะออกจากทุกข์ได้ เราต้องเห็นด้วยปัญญา คือ เราต้องเห็นโทษของมัน ว่ามันเสื่อมไปได้ หายไปได้ ไม่ยั่งยืน ซึ่งความรักชนิดที่เป็นกาม เป็นตัณหานั้น มันเป็นความรักที่มีเงื่อนไข เป็นรักที่ไม่บริสุทธิ์ เป็นรักที่มีเกลียด มีทุกข์ปนมา หากเราตัดใจ มีอุเบกขา ให้อภัยด้วยความเมตตา กำจัดความรัก ความยินดีที่เป็นกาม เป็นตัณหา กำจัดความรักในบุคคลนั้นออกไปได้ เราก็จะไม่ทุกข์ เราจะเหลือแต่ความรักที่เป็นเมตตา เป็นอุเบกขา ในจิตใจของเรา ซึ่งเป็นรักที่ไม่มีเงื่อนไข ไม่มีประมาณ แล้วเราจะผ่านมันไปได้ Q : หากคิดถึงแฟนเก่าที่แต่งงานไปแล้ว จะผิดศีลหรือไม่?   A : ไม่ผิดศีล แต่อาจจะทำให้ศีลด่างพร้อย เราจะผิดศีลก็ต่อเมื่อตั้งเจตนาไว้ไม่ถูก เช่น จะไปแย่งชิงเขามาจากครอบครัวเขา มีความคิดไปในทางกาม พยาบาท เบียดเบียน ตรงนี้จะทำให้เราทำผิดศีล เราจึงต้องกำจัดความคิดในทางกาม พยาบาท เบียดเบียนนี้ออกไป เมื่อใดที่เรามีความคิดเรื่องกามขึ้นมา แล้วเราไม่มีสติสัมปชัญญะ มันก็จะเติบโตขึ้น จะไปต่อเกิดความกระสันอยาก ไม่มีไม่ได้ จะหงุดหงิด มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง เกิดเจตนาที่จะไปเบียนเบียนคนอื่น ซึ่งเจตนาตรงนี้เอง จะทำให้ศีลขาด เพราะฉะนั้น เราต้องหยุดมันตั้งแต่แรก ด้วยการเห็นโทษในสิ่งที่เรารัก เห็นอสุภะในสิ่งที่เราชอบแล้วให้เราใส่ความเพียรลงไป ให้อดทนอดกลั้น เอาตัวเองห่างออกมา เห็นประโยชน์ของการอยู่หลีกเร้น เห็นประโยชน์ของปัญญา พิจารณาใคร่ครวญ ทำไป ๆ ปัญญาก็จะแก่กล้าขึ้น การละวางก็จะเกิดขึ้นได้ Q : เ
more
อุปาทานขันธ์ 5 [6650-7q]
2023/12/16
Q : นอกจากมรรค 8 แล้ว อะไรที่จะเป็นกัลยาณมิตรได้อีก?   A : กัลยาณมิตร 4 ประการ ได้แก่ 1. มรรค8 2.คฤหัสถ์/ฆราวาส ดูที่คุณธรรม 4 อย่าง ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา 3.นักบวช/พระสงฆ์ ดูที่ 4 อย่าง คือ ดูที่ศีลจากการที่อยู่ร่วมกัน, ดูที่ความสะอาด การพูดทั้งต่อหน้าและลับหลัง, ดูที่สมาธิ คือเมื่อเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น แล้วจะตกใจกลัว อารมณ์เสียหรือไม่ ดูที่ปัญญา ตอนอธิบาย ตอนพูด ว่าสามารถชี้แจงอธิบายได้ละเอียดหรือไม่ 4.พระพุทธเจ้า คือเอาพระพุทธเจ้าเป็นกัลยาณมิตร จะทำให้เรามีความเกรงกลัว ละอายต่อบาป (หิริโอตตัปปะ)    Q : ขันธ์ 5 ใน 7 ประการ | ขันธ์แต่ละอย่างคืออะไร?   A : สิ่งที่เราต้องรู้ ในขันธ์ 5 ทั้ง 7 ประการ คือ รู้ตัวมัน รู้เหตุเกิด รู้ความดับ รู้วิธีที่จะปฏิบัติให้ถึงความดับ รู้รสอร่อย รู้โทษอันต่ำทรามและรู้อุบายเครื่องสลัดออก / ขันธ์ (กอง) 5 ได้แก่ 1.กองรูป (รูปขันธ์) ได้แก่ธาตุสี่ 2.กองเวทนา (เวททนาขันธ์) คือ ความรู้สึกสุข ทุกข์ อทุกขมสุข 3.กองสัญญา (สัญญาขันธ์) คือ ความหมายรู้ ที่เกิดจากช่องทาง หู จมูก ลิ้น กายและใจ เกิดขึ้นหลังจากมีผัสสะ 4.กองสังขาร (สังขารขันธ์) คือ การปรุงแต่งรูปอย่างหนึ่งให้สำเร็จรูปออกมาเป็นอีกอย่างหนึ่ง ไม่ได้หมายถึงรูปอย่างเดียว แต่เป็นการปรุงแต่งทางกาย วาจา หรือใจ 5.กองวิญญาณ (วิญญาณขันธ์) คือ การรู้แจ้ง การรับรู้   Q : รู้เหตุเกิด รู้ความดับ รู้วิธีปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งขันธ์ A : เหตุเกิดของรูป คืออาหาร (ธาตุ 4) การปรุงแต่งให้รูปคืออาหาร สำเร็จรูปโดยความเป็นตัวเราจึงเป็น “สังขาร” เหตุเกิดของเวทนา สัญญา สังขาร คือผัสสะ มีผัสสะจึงมีเวทนา มีผัสสะจึงมีสัญญา มีผัสสะจึงมีสังขาร เหตุเกิดของวิญญาณ คือนามรูป วิญญาณเป็
more
อุปกิเลส 16 [6649-7q]
2023/12/09
Q : อุปกิเลส 16 ?   A : ใน “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” ที่ท่านได้สอนไว้ แบ่งได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ คือ      1.) ส่วนที่เป็นฝ่ายดำ คือ "อวิชชา" (ทุกข์, สมุทัย) สิ่งที่ควรทำคือ เราต้องละ ไม่ทำ และกำจัดสิ่งที่ไม่ดีออก ลักษณะของมันคือ มันจะเหนียวหนืด คืบคลานไป ท่านจะใช้คำว่า “ตัณหา” พอมันหนืด ยืดยาน คืบคลาน ก็จะเกิดความเศร้าหมอง คือ “กิเลส” ซึ่งกิเลสเครื่องเศร้าหมองจะแยกได้เป็น 3 กองใหญ่ ๆ คือ ราคะ (หิว), โทสะ (ร้อน), โมหะ (มืด/ ไม่แจ่มแจ้ง) ซึ่งจะแบ่งย่อยลงไปอีกได้เป็น 16 อย่าง คือ อุปกิเลส 16       2.) ส่วนดี ที่เป็นฝ่ายขาว (กุศล, นิโรธ, มรรค เราต้องทำให้มี ถ้ามีอยู่ต้องทำให้เจริญ) Q : อุปกิเลส 16 สัมพันธ์กับทาน ศีล ภาวนา หรือไม่ ?   A : อุปกิเลสจะอยู่ในส่วนของฝ่ายดำ/อกุศล เจาะจงลงคือ ส่วนของสมุทัย คือเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นเทือกเดียวกันกับกิเลส ตัณหา อวิชชา ส่วนที่จะตรงข้ามกันคือฝ่ายขาว คือฝ่ายกุศล ฝ่ายธรรมะ ก็จะมีนิโรธและมรรค เกี่ยวข้องกันในลักษณะที่แปรผกผันกันคือ ถ้ามีทาน ศีล ภาวนามาก อุปกิเลส 16 อย่างนี้ ตัณหา อวิชชา ก็ลดลง    Q : ผู้ที่ประพฤติธรรมแต่ยังมีอุปกิเลส 16 จะไม่บรรลุมรรคผลและไปสู่อบาย ?   A : ไม่สามารถบรรลุมรรคผลได้ เปรียบดังการสร้างบ้าน หากไม่มีฐานรากแล้วจะไปทำหลังคาเลยมันเป็นไปไม่ได้ มรรคผลนิพพานก็เช่นกัน เหตุ เงื่อนไข ปัจจัยมีอยู่ จะบรรลุนิพพานได้ ก็ต้องกำจัดอุปกิเลส 16 เพราะมันเป็นความเศร้าหมองของจิต   Q : ท้อแท้เพราะปฏิบัติไม่ก้าวหน้า   A : ก้าวหน้าหรือไม่ก้าวหน้าอยู่ที่เหตุ เงื่อนไข ปัจจัย การที่เราท้อแท้ แสดงว่า เรามี “ความอยาก” ความอยากนี้เป็นอกุศล ความเพียรเรามีอยู่ เพียงแค่สมาธิยังไม่เกิด การจะบรรลุธรรมได้เร็วหรือช้านั้น ขึ้นอ
more

Podcast reviews

Read 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา) podcast reviews


5 out of 5
1 reviews

Podcast sponsorship advertising

Start advertising on 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา) & sponsor relevant audience podcasts


What do you want to promote?

Ad Format

Campaign Budget

Business Details